วันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ยุคของคอมพิวเตอร์

 ยุคคอมพิวเตอร์ ที่ 1




ยุคนี้เริ่มตั้งแต่ ค.ศ. 1944 เป็นต้นมา หรือประมาณปี พ.ศ. 2494 – 2502 เทคโนโลยีที่ใช้สร้างคอมพิวเตอร์ในยุคนี้จะใช้หลอดสุญญากาศ และวงจรไฟฟ้า ซึ่งต้องใช้พลังความร้อนในขณะทำงานสูง ดังนั้นเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคนี้จึงมีขนาดใหญ่และต้องใช้เครื่องปรับอากาศมาช่วยในการระบายความร้อน นอกจากนั้นยังมีการใช้เทปกระดาษหรือบัตรเจาะรูในการรับส่งข้อมูล สำหรับปัญหาที่เกิดในยุคนี้จะเป็นปัญหาในด้านการบำรุงรักษา และการซ่อมแซมเครื่องเพื่อให้เครื่องสามารถทำงานได้ นอกจากนั้นการใช้คำสั่งในการสั่งงานก็ค่อนข้างยาก เพราะสวนมากแล้วในการทำงานต้องสั่งงานโดยใช้ภาษาเครื่อง (Machine Language) ซึ่งจะถือเป็นภาษาระดับต่ำ รหัสคำสั่งต่าง ๆ จะจดจำค่อนข้างยาก การใช้งานคอมพิวเตอร์ในยุคนี้ส่วนใหญ่จะเป็นงานทางด้านวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ส่วนงานทางด้านธุรกิจมีการเริ่มใช้ในยุคนี้เช่นกัน แต่มีการใช้ที่ค่อนข้างน้อย







ยุคคอมพิวเตอร์ยุคที่ 2

คอมพิวเตอร์ยุคที่สอง อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2502 ถึง พ.ศ. 2506 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ทรานซิสเตอร์ โดยมีแกนเฟอร์ไรท์เป็นหน่วยความจำ มีอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองในรูปของสื่อบันทึกแม่เหล็ก เช่น จานแม่เหล็ก ส่วนทางด้านซอฟต์แวร์ก็มีการพัฒนาดีขึ้น โดยสามารถเขียนโปรแกรมด้วยภาษาระดับสูงซึ่งเป็นภาษาที่เขียนเป็นประโยคที่คนสามารถเข้าใจได้ เช่น ภาษาฟอร์แทน ภาษาโคบอล เป็นต้น ภาษาระดับสูงนี้ได้มีการพัฒนาและใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน


ยุคคอมพิวเตอร์ยุคที่ 3

 คอมพิวเตอร์ยุคที่สาม อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2507 ถึง พ.ศ. 2512 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวม (Integrated Circuit : IC) โดยวงจรรวมแต่ละตัวจะมีทรานซิสเตอร์บรรจุอยู่ภายในมากมายทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์จะออกแบบซับซ้อนมากขึ้น และสามารถสร้างเป็นโปรแกรมย่อย ๆ ในการกำหนดชุดคำสั่งต่าง ๆ ทางด้านซอฟต์แวร์ก็มีระบบควบคุมที่มีความสามารถสูงทั้งในรูประบบแบ่งเวลาการทำงานให้กับงานหลาย ๆ อย่าง



ยุคคอมพิวเตอร์ยุคที่ 4

คอมพิวเตอร์ยุคที่สี่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 จนถึงปัจจุบัน เป็นยุคของคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวมความจุสูงมาก(Very Large Scale Integration : VLSI) เช่น ไมโครโพรเซสเซอร์ที่บรรจุทรานซิสเตอร์นับหมื่นนับแสนตัว ทำให้ขนาดเครื่องคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงสามารถตั้งบนโต๊ะในสำนักงานหรือพกพาเหมือนกระเป๋าหิ้วไปในที่ต่าง ๆ ได้ ขณะเดียวกันระบบซอฟต์แวร์ก็ได้พัฒนาขีดความสามารถสูงขึ้นมาก มีโปรแกรมสำเร็จให้เลือกใช้กันมากทำให้เกิดความสะดวกในการใช้งานอย่างกว้างขวาง


 
ยุคคอมพิวเตอร์ยุคที่ 5

คอมพิวเตอร์ยุคที่ห้า เป็นคอมพิวเตอร์ที่มนุษย์พยายามนำมาเพื่อช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหาให้ดียิ่งขึ้น โดยจะมีการเก็บความรอบรู้ต่าง ๆ เข้าไว้ในเครื่อง สามารถเรียกค้นและดึงความรู้ที่สะสมไว้มาใช้งานให้เป็นประโยชน์ คอมพิวเตอร์ยุคนี้เป็นผลจากวิชาการด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) ประเทศต่างๆ ทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และประเทศในทวีปยุโรปกำลังสนใจค้นคว้าและพัฒนาทางด้านนี้กันอย่างจริงจัง


ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์

1. Charles Babbage บิดาแห่งคอมพิวเตอร์


ประมาณ 2,600 ปีก่อนคริสตกาลชาวจีนได้ประดิษฐ์เครื่องมือเพื่อใช้ในการคำนวณขึ้นมาชนิดหนึ่ง เรียกว่า ลูกคิด ( Abacus)
พ.ศ. 2158 นักคณิตศาสตร์ชาวสก็อตแลนด์ชื่อ John Napier ได้ประดิษฐ์อุปกรณ์ที่ใช้ช่วยในการคำนวณขึ้นมาเรียกว่า Napier's Bones เป็นอุปกรณ์ที่มีลักษณะคล้ายกับตารางสูตรคูณในปัจจุบัน
พ.ศ.2173 วิลเลียม ออตเทรต( William Oughtred) นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษได้ประดิษฐ์ไม้บรรทัดคำนวณ ( Slide Rule) ซึ่ง ต่อมากลายเป็นพื้นฐานของการสร้างคอมพิวเตอร์แบบอนาลอก
พ.ศ.2185 เบลส์ ปาสคาล ( Blaise Pascal) นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศสได้ประดิษฐ์เครื่องบวกลบขึ้น โดยใช้หลัการหมุนของฟันเฟือง และการทดเลขเมื่อฟันเฟืองหมุน ไปครบรอบ โดยแสดงตัวเลขจาก 0-9
 
 พ.ศ.2214 กอตฟริต วิลเฮล์ม ไลบ์นิซ ( Gottfried Wilhelm Leibniz ) นักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมัน ได้ปรับปรุงเครื่องคิดเลขปาสคาล ให้ทำงานได้ดีกว่าเดิม และเขายังค้นพบเลขฐานสอง (Binary number)
พ.ศ.2288 โจเซฟ แมรี่ แจคคาร์ด ( Joseph Marie Jacquard) เป็นชาวฝรั่งเศสได้คิด เครื่องทอผ้า โดยใช้คำสั่งจากบัตรเจาะรูควบคุมการทดผ้าให้มีสีและลวดลายต่าง
   พ.ศ.2365 ชาร์ล แบบเบจ ( Charles Babbage) นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษได้ประดิษฐ์เครื่องมือที่เรียกว่าเครื่องหาผลต่าง ( Difference Engine) เพื่อใช้คำนวณและพิมพ์ ค่าทางตรีโกณมิติและฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ แบบเบจได้พยายามสร้าง เครื่องคำนวณอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า Analytical Engine โดยมีแนวคิดให้แบ่งการทำงานของเครื่องออกเป็น 3 ส่วนคือ ส่วนเก็บข้อมูล (Store unit), ส่วนควบคุม (Control unit) และส่วนคำนวณ (Arithmetic unit) ซึ่งแนวคิดนี้ได้รับการนำมาใช้เป็นต้นแบบของเครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน   
                                                   
 
ผลงานที่สำคัญ




ปี 1822 ชาลส์ แบบเบจ (Charles Babbage) ได้ทำการออกแบบเครื่อง Difference Engine โดยได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐบาล แต่เครื่อง Difference Engine นี้สร้างไม่เสร็จ เพราะแบบเบจได้ค้นพบความไม่น่าเชื่อถือบางประการในการคำนวณ จึงล้มเลิก และไปคิดเครื่องใหม่ที่ชื่อว่า Analytical Engine ซึ่งประกอบด้วยหน่วยความจำ (Memory Unit) ที่สามารถจัดเก็บตัวเลขและนำไปคำนวณ


เครื่องดังกล่าวยังสามารถพิมพ์ข้อมูลได้อัตโนมัติ สามารถนำเข้าข้อมูลด้วยบัตรเจาะรู (Punched Cards) และใช้ชุดคำสั่งในการควบคุม เครื่อง Analytical Engine นี้ยังมีฟังก์ชั่นหน้าที่หลายอย่างเช่นเดียวกับคอมพิวเตอร์ในยุคปัจจุบัน ทำให้ ชาลส์ แบบเบจ (Charles Babbage) ถูกขนานนามให้เป็นบิดาแห่งคอมพิวเตอร์ เป็นต้นมา



2. Lady Augusta Ada Byron

เอดา ไบรอน เลิฟเลซ (Lady Augusta Ada Byron, Countess of Lovelace) โปรแกรมเมอร์คนแรกของโลกเป็นบุตรสาวของ ลอร์ด ไบรอน (Lord Byron) เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2358 (ค.ศ. 1815) หลังจากเธอเกิดไม่นาน พ่อแม่ของเธอก็แยกทางกัน แม่ของเอดา จึงตัดสินใจเลี้ยงดูเธอให้เป็นผู้หญิงสมัยใหม่ และให้ศึกษาด้านคณิตศาสตร์และ วิทยาศาสตร์ ต่างไปจากกุลสตรีในตระกูลใหญ่ๆ ของอังกฤษทั่วไป
พออายุ 17 ปี ก็มีผู้แนะนำให้เอดารู้จัก Mrs. Somerville แห่งเคมบริดจ์ ผู้หญิงเก่งแห่งยุค ที่เคยแปลงานของ Laplace มาเป็นภาษาอังกฤษ เอดาจึงเข้ามาคลุกคลีกับเพื่อนกลุ่มนี้ จนได้รู้จักกับ ชาลส์ แบบบิจ ในงานสังสรรค์แห่งหนึ่ง ในที่สุด ในงานวันนั้น ตอนที่แบบบิจกล่าวว่า "what if a calculating engine could not only foresee but could act on that foresight" (จะเป็นอย่างไร ถ้าหากเครื่องคำนวณไม่เพียงสามารถหยั่งรู้ได้ หากแต่สามารถตอบสนองต่อการหยั่งรู้นั้นได้ด้วย) ไม่มีใครสนใจแนวคิดนี้ของแบบบิจเลย ยกเว้นเอดา ซึ่งเธอรู้สึกสนใจในงานนี้เป็นอย่างมาก จนอาสาที่จะช่วยพัฒนา โดยสิ่งที่เธอทำคือ การสร้างภาษาสำหรับเครื่องวิเคราะห์(analytical engine) ของแบบเบจ
หลังจากนั้นไม่นาน เอดาได้แต่งงานกับท่านเอิร์ลแห่ง เลิฟเลซ และมีบุตรด้วยกันสามคน
ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา ทั้งเอดาและแบบบิจ ยังเป็นเพื่อนกันทางจดหมาย และแลกเปลี่ยนความเห็นเรื่องเครื่องวิเคราะห์อย่างสม่ำเสมอ โดยจดหมายของทั้งสองถูกเก็บไว้อย่างดีในยุคนี้ เพราะมีข้อมูลน่าสนใจมากมาย (ทั้งเรื่องจริง และจินตนาการ) เช่น เอดาบอกว่า เธอเชื่อว่าต่อไปเครื่องมืออันนี้ จะมีความสามารถที่จะแต่งเพลงที่ซับซ้อน สร้างภาพกราฟิกนำมาใช้เพื่อการคำนวณขั้นสูง และพัฒนาวงการวิทยาศาสตร์ได้ ในจดหมายฉบับหนึ่ง เอดาแนะนำแบบบิจว่า ให้ลองเขียนแผนการทำงานของเครื่องมืออันนี้ ให้สามารถคำนวณ Bernoulli numbers ขึ้นมา
ต่อมา แผนการทำงานที่แบบบิจเขียนขึ้นมาชิ้นนั้น ก็ถูกยกย่องว่าเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ตัวแรกของโลก เธอจึงได้รับการยกย่องว่าเป็นโปรแกรมเมอร์คนแรกของโลก เอดาก็ช่วยเขียนบรรยาย รายละเอียดการทำงานของเครื่องวิเคราะห์ แต่สุขภาพของเธอก็เริ่มมีปัญหา และสุดท้ายก็เสียชีวิตด้วยวัยเพียง 37 ปี
อีกร้อยกว่าปีต่อมา ในปี พ.ศ. 2522(ค.ศ. 1979) กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ สร้างภาษาคอมพิวเตอร์มาตรฐาน ISOขึ้นมาตัวแรก พร้อมตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ เลดี้ เอดา ว่า ภาษา "ADA''


ผลงานที่สำคัญ


โปรแกรมเมอร์คนแรกของโลก คือ  เอดา ไบรอน (Lady Augusta Ada Byron, Coutress of Lovelace ) เกิดเมื่อปี ค.ศ.1816  ผู้เชี่ยวชาญทางด้านคณิตศาสตร์ที่ได้รับการยอมรับอย่างสูง
การคิดสร้างภาษาช่วยเครื่อง Analytical Engine จากนั้นก็พัฒนาและคิดค้นแนวคิดต่างๆมาเรื่อยๆ

3. Herman Hollerith 


 เครื่องคอมพิวเตอร์นับได้ว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มีความสลับซับซ้อน ( Conplexity ) น่าอัศจรรย์ที่มีความสามารถยิ่ง ซึ่งนับวันจะสูงขึ้นด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนาก้าวไปอย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับอดีต คอมพิวเตอร์นับว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มีประวัติศาสตร์อันน่าศึกษา เริ่มจากเดิมมนุษย์ดำเนินชีวิตโดยไม่มีการบันทึก จนกระทั่งการพาณิชย์มีการพัฒนาขึ้น พ่อค้าชาวแบบีลอน (Babylonian) ได้มีการจดบันทึกข้อมูลต่างๆ ลงบน clay tablets สำหรับการคำนวณ อุปกรณ์คำนวณในยุคแรกได้แก่ ลูกคิด ซึ่งปัจจุบันก็ยังมีใช้อยู่
จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2185 นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศส Blaise Pascal ได้สร้างเครื่องกลสำหรับการคำนวณชื่อ pascaline ในปี พ.ศ. 2215 Gottfried Von Leibniz นักคณิตศาสตร์ชาวเยอร์มันได้พัฒนา pascaline โดยสร้างเครื่องที่สามารถ บวก ลบ คูณ หาร และถอดรากได้ แต่ก็ไม่มีผู้ใดทราบว่ามีความแม่นยำขนาดไหน ต่อมาในปี พ.ศ. 2336 นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ Chales Babbage ได้สร้างดิฟเฟอเรนซ์แอนจิน difference engine ที่มีฟังก์ชันทางตรีโกณมิติต่างๆ โดยอาศัยหลักการทางคณิตศาสตร์ และคิดว่าจะสร้างแอนะลีติคอลเอนจิน (analytical engine ) ที่มีหลักคล้ายเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไปในปัจจุบัน จึงมีผู้ยกย่องว่าเป็นบิดาของคอมพิวเตอร์และเป็นผู้ริเริ่มวางรากฐานคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน

 
ผลงานที่สำคัญ



 จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2480 Howard Aiken สร้างเครื่องกล automatic calculating machine ขึ้น จุดประสงค์ของเครื่องกลชิ้นนี้ก็คือ เพื่อเชื่อมโยงเทคโนโลยีทั้งทาง electrical และ mechanical เข้ากับบัตรเจาะรูของ Hollerith และด้วยความช่วยเหลือของนักศึกษาปริญญาและวิศวกรรมของ IBM ทีมงานของ Howard ก็ประดิษฐ automatic calculating machine สำเร็จในปี พ.ศ. 2487 โดยใช้ชื่อว่า MARK I โดยการทำงานภายในตัวเครื่องจะถูกควบคุมอย่างอัตโนมัติด้วย                


4. Alan Turing  บิดาของวิทยาการคอมพิวเตอร์


 
Alan Turing's 100th birthday
แอลัน แมธิสัน ทัวริง  Alan Mathison Turing เกิดเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2455 (ค.ศ. 1912) ที่ลอนดอน ประเทศอังกฤษ เป็นนักคณิตศาสตร์, นักตรรกศาสตร์, นักรหัสวิทยา และวีรบุรุษสงคราม ชาวอังกฤษ และเป็นที่ยอมรับว่าเป็นบิดาของวิทยาการคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นผู้สร้างรูปแบบอัลกอริทึมและการคำนวณ โดยใช้เครื่องจักรทัวริง อย่างเป็นทางการทางคณิตศาสตร์ หรือ บิดาของวิทยาการคอมพิวเตอร์
ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง Alan Turing มีส่วนสำคัญในการแกะรหัสลับของฝ่ายเยอรมัน โดยเขาเป็นหัวหน้าของกลุ่ม Hut 8 ที่ทำหน้าที่ในการแกะรหัสของเครื่องอีนิกมาที่ใช้ในฝ่ายทหารเรือ หลังจากสงครามโลก เขาได้ออกแบบเครื่องคอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถโปรแกรมได้เครื่องแรกๆ ของโลกที่ห้องปฏิบัติการฟิสิกส์แห่งชาติ และได้สร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นจริงๆ ที่มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์

ผลงานที่สำคัญ



สำหรับผลงานที่เด่น ๆ ของ Alan Turing เช่น การคิดโมเดลที่สามารถทำงานได้เทียบเท่ากับคอมพิวเตอร์ (แต่อาจมีความเร็วต่ำกว่า) โดยใช้คำสั่งพื้นฐานง่ายๆ เพียง เดินหน้า ถอยหลัง



 
 5.Konrad Zuse

                                     



ค.ศ. 1941 เป็นครั้งแรกที่โลกได้มีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่สามารถตั้งโปรแกรมได้อย่างอิสระ ผู้พัฒนาคือ Konrad Zuse และชื่อคอมพิวเตอร์คือ Z1 Computer


6. Prof. Howard H. Aiken



  พ.ศ.2487 ศาสตราจารย์โอเวิร์ด ไอด์เคน (Howard Aiken) แห่งมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด ร่วมกับวิศวกรของบริษัทไอบีเอ็มได้สร้างเครื่อง MARK I เป็นผลสำเร็จ แ ต่อย่างไรก็ตามเครื่อง MARK I นี้ยังไม่ใช่คอมพิวเตอร์ที่แท้จริงแต่เป็นเครื่องคิดเลขไฟฟ้าขนาดใหญ่เท่านั้น
 7. Dr. John V.atanasoff.Clifford Berry


Dr. John Vincent Atanasoff และ Clifford Berry ได้ประดิษฐเครื่อง ABC (Atanasoff-Berry Computer) โดยใช้ หลอดสูญญากาศ (vacuum tubes)


7. Dr.John W.Mauchly J. Presper Eckert




ดร. จอห์น ดับบลิว เมาชลี (John W. Mauchly) และ เจ. เพรสเพอร์ เอคเคิร์ต(J. Presper Eckert )ได้ร่วมมือกันสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่เครื่องแรก เป็นคอมพิวเตอร์สำหรับใช้งานทั่วไป เครื่องนี้มีชื่อว่า อินิแอค (ENIAC: Electronic Numerical Integrator and Computer) เครื่องนี้หนัก 30 ตัน ประกอบด้วยหลอดสุญญากาศ 18,000 หลอด กินพื้นที่ถึง 30x50 ช่วงก้าว ใช้กำลังไฟฟ้าถึง 160 กิโลวัตต์ ตอนเครื่อง อินิแอคถูกเปิดทำงานครั้งแรกนั้น หลอดไฟฟ้าถึงกับหรี่สลัวทั่วเมืองฟิลาเดลเฟีย ที่ซึ่งเครื่องนี้ถูกสร้าง



8. Dr.John Von Neumann
  
      
ปีนี้ ดร. จอห์น วอน นอยแมนน์ (John Von Neumann) ได้เขียนเอกสารวิชาการที่มีค่ามากสำหรับวงการคอมพิวเตอร์ เอกสารนี้ได้บรรยายถึงแนวคิดของเครื่องคอมพิวเตอร์แบบที่เก็บโปรแกรมไว้ในหน่วยความจำ โดยมีหน่วยความจำ้เก็บข้อมูลในการประมวลผลและคำสั่ง แนวคิดนี้ทำให้เกิดความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ซึ่งได้วางพื้นฐานสำหรับคอมพิวเตอร์ที่เราได้ใช้งานอยู่ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา์ คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ในปัจจุบันนี้มีสถาปัตยกรรมตามแบบของ วอน นอยแมนน์
      

9. Dr. Ted Hoff


ดร. เท็ด ฮอฟฟ์ (Ted Hoff) แห่งบริษัทอินเทล (Intel Corporation) ได้พัฒนาชิพที่มีขนาดเล็กมาก จึงได้ชื่อว่าไมโครโพรเซสเซอร์ ชื่อรุ่นคือ Intel 4004 เป็นหน่วยประมวลผลขนาดเล็กที่สามารถโปรแกรมได้ คอมพิวเตอร์ที่ใช้ชิพขนาดเล็กนี้เจึงถูกรียกว่าไมโครคอมพิวเตอร์ด้วย



10. Steve Jobs Steve Wazniak  


     สตีเวน พอล จอบส์ (Steve Jobs) เกิดวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1955 เกิดที่เมืองซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา เป็นบุตรบุญธรรมของนายพอล และนางคลารา จอบส์ส่วนบิดา มารดาที่แท้จริงของจอบส์ คือ บิดา อับดุลฟัตตะห์ จันดาลี มารดา โจแอน ซิมป์สัน สตีฟ จอบส์ เข้าพิธีสมรส กับ ลอเรนซ์ โพเวลล์ เมื่อวัน18 มีนาคม ค.ศ. 1991 และมีบุตรด้วยกันสามคน สตีฟ จอบส์ ยังมีลูกสาวหนึ่งคน ชื่อลิซา จอบส์
 
 
 
 
ผลงานที่สำคัญ
 

  ปี ค.ศ. 1976 เป็นผู้มีส่วนช่วยทำให้แนวความคิดเรื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเป็นที่นิยมขึ้นมา ด้วยเครื่อง Apple II ต่อมา เขาเป็นผู้แรกที่มองเห็นศักยภาพทางการค้าของส่วนประสานงานผู้ใช้แบบกราฟิกส์และเม้าส์ ที่ถูกพัฒนาขึ้นในศูนย์วิจัยซีร็อกซ์พาร์ค ของบริษัทซีร็อกซ์ และได้มีการผนวกเทคโนโลยีเหล่านี้เข้าไว้ในเครื่องแมคอินทอช
 
 
 
11. Bill Gates
 
ลเลียม เฮนรี เกตส์ ที่สาม (เกิด 28 ตุลาคม ค.ศ. 1955หรือที่มักเป็นที่รู้จักในชื่อ บิล เกตส์ เป็นนักธุรกิจชาวอเมริกันและหนึ่งในผู้ก่อตั้งบริษัทไมโครซอฟท์ เขากับผู้บุกเบิกด้านคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล คนอื่น ๆ ได้ร่วมกันเขียนต้นแบบของภาษาอัลแตร์เบสิกซึ่งเป็นอินเตอร์เพรเตอร์
 
ในปี ค.ศ. 1994บิล เกตส์ได้ม้วนกระดาษไลเชสเตอร์ ซึ่งรวบรวมงานเขียนของเลโอนาร์โด ดา วินชีมาไว้ในครอบครอง และในปี ค.ศ. 2003ได้นำม้วนกระดาษนี้ออกแสดงที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งเมืองซีแอทเทิล
 

วันจันทร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2556

สถานที่ *-ท่องเที่ยว จังหวัด ตรัง *-

 คำขวัญ*- เมืองตรัง*-

เมืองพระยารัษฎา ชาวประชาใจกว้าง

 หมูย่างรสเลิศ ถิ่นกำเนิดยางพารา

เด่นสง่าดอกศรีตรัง ปะการังใต้ทะเล

 เสน่ห์หาดทรายงาม  น้ำตกสวยตระการตา


สถานที่ *- ท่องเที่ยวแห่งแรก*- คือ เกาะกระดาน



เกาะที่มีชายหาดสวยที่สุดในทะเลตรัง พื้นที่บนเกาะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนของเขตอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหมและส่วนของเอกชน พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตความรับผิดชอบของหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหมที่ 3 (เกาะกระดาน) ทางด้านตะวันออกเป็นสวนยาง สวนมะพร้าว และรีสอร์ทความที่อยู่ไกลจากชายฝั่งจึงทำให้เกาะกระดานมีน้ำทะเลเขียวใส มีแนวชายหาดเกือบรอบเกาะเหมาะกับการเล่นน้ำ

เว็ปไซต์ *-อ้างอิง*-http://www.paiduaykan.com/province/south/trang/kradanisland.html

สถานที่*-ท่องเที่ยว *- คือ เกาะมุก





เกาะมุก   ถ้ามาเที่ยวตรังถ้าพูดถึงเกาะมุกนักท่องเที่ยวอาจจะไม่ทราบแต่ว่าถ้าพูดถึงถ้ำมรกตรู้จักทันทีเกาะมุกเป็นเกาะที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่บนเกาะมีหมู่บ้านมุสลิมอยู่เป็นหมู่บ้านใหญ่ ประชากร 2-3พันคน บนเกาะก็มีระบบประปา ระบบไฟฟ้า มีสถานีอนามัย สถานีตำรวจ มีโรงเรียนถึงมัธยม3รีสอร์ทต่างๆ ก็มีเยอะอยู่ เกิดขึ้นเหมือนกับดอกเห็ดหน้าฝน มารู้จักกับถ้ำมรกตก่อนก็แล้วกันครับถ้ำมรกต ตั้งอยู่ทางทิศทางตะวันตกของเกาะมุก เมื่อก่อนชาวบ้านเกาะมุก เรียกว่า ถ้ำน้ำ ภายในโพรงถ้ำทางเข้านั้น ก็เป็นที่อยู่ของนกนางแอ่นมาก่อน แต่ตอนนี้ไม่มีแล้ว มีแต่ค้างคาวไม่กี่ตัว เพราะนกนางแอ่นมันหนีเสียงอึกทึกของนักท่องเที่ยวไปหมดแล้ว ปากทางเข้าถ้ำนั้นเป็นโพรงเล็กๆไม่ใหญ่มากนัก จากปากถ้ำด้านนอกถึงด้านในความยาวประมาณ80 เมตร คดเคี้ยวเป็นรูปตัวs ช่วงปากถ้ำแสงจากภายนอก จะสะท้อนในถ้ำทำให้สีของน้ำบริเวณนี้เป็นเขียวมรกต


เว็ปไซต์*- อ้างอิง*-http://www.panuwattourtrang.com/index.php?name=page&file=page&op=travel


ทะเล*-ตรัง*-


เป็นจุดหมายของการเดินทางท่องเที่ยวถ่ายภาพในครั้งนี้ โดยเริ่มต้นที่ท่าเรือปากเม็ง ที่เราสามารถมองเห็นแนวหมู่เกาะเรียงรายอยู่กลางผืนทะเลสีคราม หากวันใดที่ท้องฟ้าแจ่มใสเป็นสีครามเข้ม แสงแดดจัดจ้า จัดได้ว่าเป็นวันที่ดีเหมาะสำหรับการถ่ายภาพกว่าวันที่ไร้แสงแดด หรือครึ้มฝน
 

*-ดอกไม้ทะเลที่ เกาะม้า*-

 
 


*-พระอาทิตย์ตกที่หาดปากเม็ง*-








เว็ปไซต์*-อ้างอิง*-http://moohin.com/trips/trang/talaytrang/










แนะนำตัวเกี่ยวกับตัวฉัน

  *-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-

*+*สวัสดี!! น.ส. ธนัชชา ชูแก้ว  เรียกเล่นๆๆว่า  น้องกวาง


*+*กำลังศึกษาอยู่ คณะวิทยาการจัดการ  สาขา คอมพิวเตอร์ธุรกิจ


ห้อง คพธ.561.  เลขที่ 13


Gmail. Thananchakwang




KWANG*-*


Facebook : Thanancha Chookeaw


KWANG*-*




*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-